วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

การมอดูเลชันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของข้อมูล คือ
1. การมอดูเลชันแบบอนาล็อก (Analog Modulation) คือการมอดูเลชันโดยที่ข้อมูลเป็นแบบต่อเนื่อง (Continuous) ไม่มีการแบ่งเป็นระดับไว้ แบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
      1. การมอดูเลชันแอมปลิจูด (Amplitude Modulation)คือการเปลี่ยนแอมปลิจูดของสัญญาณให้มีขนาดต่างๆ กันเพื่อใช้แทนข้อมูล
      2. การมอดูเลชันความถี่ (Frequency Modulation) คือการใช้สัญญาณที่มีความถี่ต่างกันเพื่อใช้แทนข้อมูล
      3. การมอดูเลชันเฟส (Phase Modulation) คือการใช้สัญญาณเดียวกันแต่ถูกส่งออกไปในจังหวะที่ต่างกัน คือส่งก่อนหรือส่งหลัง เพื่อใช้แทนข้อมูล
2. การมอดูเลชันแบบดิจิตอล (Digital Modulation) คือการมอดูเลชันโดยที่ข้อมูลถูกแบ่งเอาไว้เป็นระดับต่างๆ อย่างชัดเจน โดยระดับที่แบ่งไว้จะต้องมีจำนวนที่แน่นอน (Discrete) แบ่งย่อยออกได้เป็น 4 ประเภทคือ
  1. ออน-ออฟคีย์อิ้ง (On-Off Keying: OOK)คือการใช้ช่วงเวลาการเปิดปิดการส่งสัญญาณที่แตกต่างกันในการแทนข้อมูล โดยใช้หลักการเดียวกับการส่งรหัสมอส (Mourse Code)
     2. เฟสชิฟท์คีย์อิ้ง (Phase Shift Keying)คือการใช้รูปแบบของสัญญาณที่มีแอมพลิจูด และความถี่เดียวกัน แต่ส่งออกมาจังหวะต่างๆ กัน ในการแทนข้อมูลแบบใดแบบหนึ่ง
     3. ฟรีเควนซี่ชิฟท์คีย์อิ้ง (Frequency Shift Keying)คือการใช้สัญญาณที่มีความถี่ต่างกัน ในการแทนข้อมูลแบบต่างๆ
     4. แอมพลิจูดชิฟท์คีย์อิ้ง (Amplitude Shift Keying)คือการใช้สัญญาณแบบเดียวกัน แต่มีแอมพลิจูดต่างกันออกไป

ระบบการสื่อสารข้อมูล อาจจำแนกได้ตามสื่อส่งผ่านเป็น 2 ประเภท คือ
         1. ประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่ไขว้ (Wire pair หรือ Twisted pair หรือสาขาโทรศัพท์), สายตัวนำร่วมแกน (Coaxial Cables), เส้นใยนำแสง หรือไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber optics)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น