1.แบ่งตามรูปแบบการส่งข้อมูล
1) การส่งแบบขนาน (Parallel) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยทำการส่งข้อมูลหลายๆ ชุดไปพร้อมกันโดยวิธีการนี้จะสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่จะสิ้นเปลืองช่องทางในการส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก
2) การส่งแบบอนุกรม (Serial) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยทำการส่งข้อมูลไปในช่องทางเดียวกันทีละชุดข้อมูลโดยวิธีการนี้ จะส่งข้อมูลได้ช้ากว่า แต่จะใช้ช่องทางการส่งข้อมูลน้อยกว่าวิธีการส่งแบบขนาน
2. ตามช่องทางการสื่อสารข้อมูลดังนี้
1) การสื่อสารแบบช่องทางทางเดียว (Simplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เท่านั้น ไม่สามารถสลับหน้าที่กันเพื่อเปลี่ยนทิศทางของการส่งข้อมูลในทิศกลับกัน ได้
2) การสื่อสารแบบกึ่งสองช่องทาง (Half Duplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีช่องทางเดียวแต่เสมือนมีสองช่องทาง กล่าวคือสามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับและส่งข้อมูลกลับจากผู้รับ ไปยังผู้ส่งได้ โดยอาศัยช่วงเวลาในการเป็นผู้ส่งหรือเป็นผู้รับสลับกันไป
1) การส่งแบบขนาน (Parallel) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยทำการส่งข้อมูลหลายๆ ชุดไปพร้อมกันโดยวิธีการนี้จะสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่จะสิ้นเปลืองช่องทางในการส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก
2) การส่งแบบอนุกรม (Serial) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยทำการส่งข้อมูลไปในช่องทางเดียวกันทีละชุดข้อมูลโดยวิธีการนี้ จะส่งข้อมูลได้ช้ากว่า แต่จะใช้ช่องทางการส่งข้อมูลน้อยกว่าวิธีการส่งแบบขนาน
2. ตามช่องทางการสื่อสารข้อมูลดังนี้
1) การสื่อสารแบบช่องทางทางเดียว (Simplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เท่านั้น ไม่สามารถสลับหน้าที่กันเพื่อเปลี่ยนทิศทางของการส่งข้อมูลในทิศกลับกัน ได้
2) การสื่อสารแบบกึ่งสองช่องทาง (Half Duplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีช่องทางเดียวแต่เสมือนมีสองช่องทาง กล่าวคือสามารถส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับและส่งข้อมูลกลับจากผู้รับ ไปยังผู้ส่งได้ โดยอาศัยช่วงเวลาในการเป็นผู้ส่งหรือเป็นผู้รับสลับกันไป
3) การสื่อสารแบบสองช่องทาง (Full Duplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีสองช่องทางโดยช่องทางหนึ่งใช้ ในการส่งข้อมูลในทิศจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
หัวใจหลักของการสื่อสารข้อมูล คือการใช้โปรโตคอล (Protocol) ในการสื่อสาร การมอดูเลชันเป็นส่วนหนึ่งของโปรโตคอลเพื่อจะทำให้การสื่อสารสามารถ ใช้สัญญาณที่เดินทางผ่านตัวกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง ในการนำพาข้อมูลจากภาคส่งไปยังภาครับได้ โดยผู้ส่งสารต้องทำการมอดูเลชัน (Modulation) สัญญาณกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และทางผู้รับสารต้องดีมอดูเลชัน (Demodulation) กลับเพื่อกลั่นกรองเอาข้อมูลออกมาจากสัญญาณที่ผู้ส่งสารนั้นส่งมา
1. ความหมาย และประเภทของการมอดูเลชัน (Modulation)
การมอดูเลชัน (Modulation) คือ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสัญญาณที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยให้ลักษณะต่างๆ ของสัญญาณเป็นตัวแทนของข้อมูล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ส่งสารส่งลักษณะสัญญาณแบบหนึ่งแทนตัวอักษร A เมื่อผู้รับสารได้รับสัญญาณ และสังเกตได้ว่าเป็นสัญญาณแทนตัวอักษร A ผู้รับสารก็จะเข้าใจว่าผุ้ส่งสารได้ส่งอักษร A มาหาเขา เป็นต้น
สัญญาณที่ใช้ในการมอดูเลชันจะอยู่ในรูปของคลื่น ดังนั้นการเปลี่ยนลักษณะของสัญญาณ คือการเปลี่ยนลักษณะของคลื่น โดยสามารถเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. แอมพลิจูด (Amplitude)
2. ความถี่ (Frequency)
3. เฟส (Phase)
1. ความหมาย และประเภทของการมอดูเลชัน (Modulation)
การมอดูเลชัน (Modulation) คือ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสัญญาณที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยให้ลักษณะต่างๆ ของสัญญาณเป็นตัวแทนของข้อมูล เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ส่งสารส่งลักษณะสัญญาณแบบหนึ่งแทนตัวอักษร A เมื่อผู้รับสารได้รับสัญญาณ และสังเกตได้ว่าเป็นสัญญาณแทนตัวอักษร A ผู้รับสารก็จะเข้าใจว่าผุ้ส่งสารได้ส่งอักษร A มาหาเขา เป็นต้น
สัญญาณที่ใช้ในการมอดูเลชันจะอยู่ในรูปของคลื่น ดังนั้นการเปลี่ยนลักษณะของสัญญาณ คือการเปลี่ยนลักษณะของคลื่น โดยสามารถเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. แอมพลิจูด (Amplitude)
2. ความถี่ (Frequency)
3. เฟส (Phase)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น